วันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2557

การเกาะเกี่ยว กระชาก ดึง

การเกาะเกี่ยว กระชาก ดึง


หากเอ่ยถึงการใช้กระบองสองท่อน ในขณะต่อสู้ บางท่านอาจนึกภาพออกเพียงแค่ การควงตวัดไปมา เพื่อมิให้คู่สู้เข้ากระทำต่อเราได้ ยกตัวอย่างเช่นฉากในภาพยนตร์ต่าง ๆ ข้อจำกัดของการทำภาพยนตร์ (สมัยก่อน) คือการแสดงฉากต่อสู้นั้น อาจจำกัดอยู่แค่ขีดความสามารถของตัวนักแสดงเท่านั้น เพราะใช้เทคนิคพิเศษน้อยมาก ทางด้านความปลอดภัยก็อาจมีการใช้อาวุธพลาสติกหรืออาวุธยาง แต่นั่นก็ยังต้องอาศัยทักษะความสามารถของนักแสดงด้วย





แต่ถ้าเราอ่านจากงานเขียน ไม่ว่าจะเป็นนิยายที่มีแต่ตัวอักษร หรือ จะเป็นนิยายภาพก็ตาม(การ์ตูน) มักบรรยายถึงการต่อสู้ที่หวือหวา อลังการ จนบางครั้งถ้ายิบยกเอามาทำภาพยนต์ ก็คงมีความยากสำหรับผู้แสดงอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะฉากที่ต้องต่อสู้ด้วยอาวุธอ่อน(flexible weapons) ซึ่งอาวุธอ่อนนี้ บางครั้งจะเรียกว่า อาวุธพลิกแพลง เพราะว่าหมายถึงอาวุธที่มีการแกว่งตัวได้ อ่อนตัวได้(ในบางส่วน) การใช้งานค่อนข้างพลิกแพลง และควบคุมได้ยาก ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้จริงหรือในการแสดงก็ตาม ภาพยนต์บางเรื่อง จึงหาทางออกด้วยการทำ CG 



และข้างล่างนี้คือรวมคลิ๊ป สาธิตการใช้กระบองสองท่อนในการตีวัตถุและการพันอาวุธอื่น



และด้านล่างนี้เป็นคลิ๊ปเก่าที่ผมเพิ่มคำอธิบายแล้ว




และนี่เป็นคลิ๊ปเมื่อ 18 พ.ค.57
 
จากในคลิ๊ป และที่กล่าวไว้ข้างต้น เราพอจะสรุปได้ว่า การที่จะใช้อาวุธอ่อนให้ดูน่าสนใจและน่าตื่นตาตื่นใจนั้น(ในการแสดง) หากเราสามารถควบคุมอาวุธได้ดังใจ เสมือนว่ามีชีวิต ก็จะสร้างความประหลาดใจให้แก่ผู้ชมได้ไม่น้อย โดยที่ไม่ต้องใช้ GC ช่วยเลย ส่วนแนวทางในการฝึกนั้น หากมีความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว ก็ฝึกฝนได้ไม่ยาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความขยันหมั่นฝึกซ้อมของตัวผู้ฝึกเองด้วย ในส่วนของกระบองสองท่อนนั้น ผู้เริ่มต้นอาจฝึกให้ใช้เป็นได้ภายในวันเดียว แต่การจะฝึกใช้ชำนาญนั้น อาจต้องอาศัยการซ้อมทุกวัน ซ้อมซ้ำๆเดิมๆ เป็นแรมเดือนแรมปี ตัวผมเอง(AmeenTP) ทุกวันนี้ก็ยังฝึกท่าพื้นฐาน 15 ท่า ก่อนที่จะซ้อมอย่างอื่นอยู่เสมอ เพราะท่าพื้นฐาน เป็นท่าต้นแบบและรากฐานของท่าอื่นๆ ไม่ว่าคุณจะฝึกไปถึงไหน ควรกลับมาทบทวนอยุ่เสมอ
สุดท้ายนี้ ผมขอปิดท้ายด้วยคลิ๊ปแอคชั่นสั้นๆที่ผมถ่ายกับเพื่อนที่สวนลุมเมื่อ 24 ก.ย.56
และขอลาท่านผู่อ่านไปก่อนสำหรับบทความนี้ครับ สวัสดี ^_^

AmeenTP 12 ส.ค.57



วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2557

กระบองสองท่อนพื้นฐาน 15 ท่า (หนึ่งอัน/หนึ่งมือ)


1.สามเหลี่ยม (ตีเฉียง)
2.สามเหลี่ยมหมุน
3.สี่เหลี่ยม (ตีตรง)
4.ขาซ้าย (รับโซ่ด้วยแข้งข้างตรงข้าม)
5.ขาขวา (รับโซ่ด้วยแข้งข้างเดียวกับที่ถือกระบอง)
6.ไขว้ (ตีงัดขึ้น/ตีเสย)
7.สามเหลี่ยมเลขแปด (ทำท่าเลขแปดด้านข้างต่อจากท่าสามเหลี่ยม)
8.เปลี่ยน 1 มือ (มือซ้ายจับคว่ำลง)
9.เปลี่ยน 2 มือ (สลับมือด้วยการรับแบบหงายมือ)
10.เปลี่ยนด้านหลัง (สลับมือจากด้านหลัง และสลับกลับด้วยการรับใต้ศอก)
11.สามเหลี่ยมเลขแปดด้านหน้า (ควงเลขแปดสี่รอบ)
12.เปลี่ยนด้านหลังหมุนกลับ 13.ไขว้ ลง-ขึ้น สามเหลี่ยม
14.สามเหลี่ยม เลขแปดด้านข้าง เลขแปดด้านหน้า
15.เปลี่ยน 1 มือคว่ำมือไขว้