วันเสาร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2556

คำแนะนำการใช้กระบองแบบไม้สำหรับผู้เริ่มต้น

เริ่มต้นด้วยเทคนิคการตบจับก่อนครับ
เทคนิคการตบจับ(กระบองสองท่อน)

ตามมาด้วยคำแนะนำในด้านความปลอดภัยครับ

เทคนิคการเล่น

เมื่อทราบเทคนิคทั้งสองแล้วก็เริ่มฝึกกันเลยครับ

วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

ขนาดและน้ำหนักของกระบองสองท่อน


ขนาดและน้ำหนักของกระบองสองท่อน


ขนาด

ขนาดโดยทั่วๆไปเท่าที่พบ หน้าตัดมักจะมีเส้นผ่าศุนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว และบางชนิดหัวจะเล็กกว่าปลาย ความยาวจะมีตั้ง แต่ 25 ถึง 30 เซ็นติเมตร ซึ่งส่วนใหญ่ที่มีจำหน่ายอยู่มักจะมีความยาว 30 เซ็นติเมตร จริงๆแล้วความยาวที่เหมาะสมกับสัดส่วนของคนไทยคือ 28 เซ็นติเมตร และความยาวในส่วนที่เป็นโซ่ จะยาวประมาณ 1 ฝ่ามือของผู้ใช้ (วัดเฉียงๆ จากโคนนิ้วหัวแม่มือถึงโคนนิ้วก้อย) สัดส่วนที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นสามารถ ปรับแต่ง ได้ตามแต่ความถนัดของผู้ใช้
ภาพแสดงการวัดระยะโซ่กับฝ่ามือผู้เล่น สั้นกว่าฝ่ามือได้เล็กน้อย แต่ไม่ควรยาวกว่า


น้ำหนัก
เบา (50-100 กรัม)
จะเป็นแบบที่เบามาก และมักจะใช้เชือกสั้นๆ เพราะถ้าเชือกหรือโซ่ยาวไป จะไม่มีแรงเหวี่ยงเลยเนื่อจากเบาเกินไป

ปานกลาง (100-230 กรัม)
น้ำหนักมาตรฐานของกระบองสองท่อนจะอยู่ระหว่างนี้ สามารถใช้ได้ทั้งการรำและการตี (การแสดงและการต่อสู้)

หนัก (มากว่า 230 กรัม)
น้ำหนักนี้ถูกออกแบบมาเพื่อการต่อสู้โดยเฉพาะ แต่ด้วยน้ำหนักที่มากขนาดนี้ทำให้ควบคุมได้ยากมาก วิธีแก้ปัญหา สำหรับอาวุธต่อสู้ที่มีน้ำหนักมากไป คือการออกแบบให้มีน้ำหนักเบาแต่ยังคงมีความแข็งอยู่ เพื่อประสิทธิภาพในการทำลาย เช่น ทำจากอลูมิเนียม และแบบที่ทำจากไม้เบาๆห่อผิวด้วยเหล็กบาง

หนักมาก (มากกว่า 600 กรัม)
ด้วยน้ำหนักที่มาก เวลาเหวี่ยงหรือหมุนควง จะเพิ่มแรงกดได้มาก แต่ก็ควบคุมได้ยากตามไปด้วย กระบองแบบนี้มักมีเชือกที่ยาวกว่าปกติ จุดประสงค์ของการออกแบบ ทำเพื่อการฝึกและการออกกำลังกายมากกว่าจะทำเพื่อการแสดงและการต่อสู้




สรุป
หากใช้ในการรำ ควรเลือกที่มีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 100-230 กรัม และหากต้องการให้ใช้ได้ทั้งการรำและการต่อสู้ ควรเลือกแบบที่มีการออกแบบให้มีผิวกระบองที่แข็ง แต่ไม่หนักมากนัก บางท่านอาจคิดว่า กระบองจะต้องมีน้ำหนักที่มากจึงจะดี แต่จริง ๆ แล้ว วิวัฒนาการอาวุธหลาย ๆ ชนิด  จะมีการพัฒนาให้เบาลง เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็วขึ้น และไม่บั่นทอนกำลังของผู้ใช้มากนัก




ลักษณะการจับถือ


ลักษณะการจับถือ(grip)
ในการใช้อาวุธชนิดต่างๆนั้น สิ่งแรกๆที่เราควรจะต้องทราบคือ จะต้องจับถืออย่างไรซึ่งลักษณะการจับถือนิยมเรียกทับศัพท์ว่าการ กริป(grip) หากท่านเป็นผู้ที่เคยเล่นอาวุธมีดมาบ้างคงเคยได้ยินคำว่า "การกริบมีด" ซึ่งก็หมายถึงลักษณะของการจับถือมีดในขณะใช้งานนั่นเอง กระบองสองท่อนก็เช่นเดียวกันสามารถจับได้หลายแบบซึ่งการจับในแต่ละแบบจะให้ผลที่แตกต่างกันออกไป ก่อนที่เราจะมาดูลัษณะการจับถือ เรามาดูส่วนประกอบต่างๆของกระบองสองท่อนกันก่อนนะครับ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันครับ




ส่วนต่างๆของกระบองสองท่อน


ในส่วนของตำแหน่งในการจับ ผมขอกล่าวถึงการจับกระบองแยกตามตำแหน่งในการจับไว้ 3 แบบดังนี้นะครับ


1.จับในตำแหน่งหัว(Jukon-bu)
การจับแบบนี้จะจับบริเวณที่ใกล้ส่วนที่ใกล้กับโซ่หรือเชือกที่ใช้ร้อย การจับแบบนี้จะทำให้ควบคุมกระบองได้ง่ายเหมาะกับการรำ และการซ้อมตีเป้า แต่ไม่เหมาะกับการต่อสู้ เนื่องจากมีระยะในการตีที่สั้นมาก การจับแบบนี้ยังเหมาะกับผู้เริ่มต้นด้วย

2.การจับตำแหน่งกลาง(Chukon-bu)

การจับแบบนี้จะให้ระยะในการตีที่ไกลขึ้นกว่าแบบแรก และยังควบคุมได้ง่ายอยู่เหมาะกับการรำแบบเร็ว เนื่องจากสลับมือได้ง่ายในการรำแบบใช้กระบอง 1 อัน การรับได้ศอกกระทำได้ง่ายทำให้ได้ท่วงท่าที่มากขึ้น ทั้งยังควบคุมกระบองที่มีน้ำหนักมากได้ดี เช่นกระบองไม้ และกระบองเหล็กแต่ยังไม่เหมาะกับการต่อสู้มากนัก เพราะระยะยังสั้นอยู่

3.การจับตำแหน่งปลาย(Kikon-bu)

การจับแบบนี้ใช้ในการแข่งขันประเภทต่อสู้ เนื่องจากระยะในการตีไกลสุดและสามารถสลับมือแบบกลับทิศทางได้ดี(Reverse)แต่ก็มีข้อเสียคือควบคุมทิศทางของกระบองได้ยาก ผู้ฝึกจำเป็นจะต้องมีความชำนาญในการรำโดยการจับแบบที่ 1 และ 2 เสียก่อนจึงจะสามารถพัฒนามาจับแบบที่ 3 ได้