วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

ลักษณะการจับถือ


ลักษณะการจับถือ(grip)
ในการใช้อาวุธชนิดต่างๆนั้น สิ่งแรกๆที่เราควรจะต้องทราบคือ จะต้องจับถืออย่างไรซึ่งลักษณะการจับถือนิยมเรียกทับศัพท์ว่าการ กริป(grip) หากท่านเป็นผู้ที่เคยเล่นอาวุธมีดมาบ้างคงเคยได้ยินคำว่า "การกริบมีด" ซึ่งก็หมายถึงลักษณะของการจับถือมีดในขณะใช้งานนั่นเอง กระบองสองท่อนก็เช่นเดียวกันสามารถจับได้หลายแบบซึ่งการจับในแต่ละแบบจะให้ผลที่แตกต่างกันออกไป ก่อนที่เราจะมาดูลัษณะการจับถือ เรามาดูส่วนประกอบต่างๆของกระบองสองท่อนกันก่อนนะครับ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันครับ




ส่วนต่างๆของกระบองสองท่อน


ในส่วนของตำแหน่งในการจับ ผมขอกล่าวถึงการจับกระบองแยกตามตำแหน่งในการจับไว้ 3 แบบดังนี้นะครับ


1.จับในตำแหน่งหัว(Jukon-bu)
การจับแบบนี้จะจับบริเวณที่ใกล้ส่วนที่ใกล้กับโซ่หรือเชือกที่ใช้ร้อย การจับแบบนี้จะทำให้ควบคุมกระบองได้ง่ายเหมาะกับการรำ และการซ้อมตีเป้า แต่ไม่เหมาะกับการต่อสู้ เนื่องจากมีระยะในการตีที่สั้นมาก การจับแบบนี้ยังเหมาะกับผู้เริ่มต้นด้วย

2.การจับตำแหน่งกลาง(Chukon-bu)

การจับแบบนี้จะให้ระยะในการตีที่ไกลขึ้นกว่าแบบแรก และยังควบคุมได้ง่ายอยู่เหมาะกับการรำแบบเร็ว เนื่องจากสลับมือได้ง่ายในการรำแบบใช้กระบอง 1 อัน การรับได้ศอกกระทำได้ง่ายทำให้ได้ท่วงท่าที่มากขึ้น ทั้งยังควบคุมกระบองที่มีน้ำหนักมากได้ดี เช่นกระบองไม้ และกระบองเหล็กแต่ยังไม่เหมาะกับการต่อสู้มากนัก เพราะระยะยังสั้นอยู่

3.การจับตำแหน่งปลาย(Kikon-bu)

การจับแบบนี้ใช้ในการแข่งขันประเภทต่อสู้ เนื่องจากระยะในการตีไกลสุดและสามารถสลับมือแบบกลับทิศทางได้ดี(Reverse)แต่ก็มีข้อเสียคือควบคุมทิศทางของกระบองได้ยาก ผู้ฝึกจำเป็นจะต้องมีความชำนาญในการรำโดยการจับแบบที่ 1 และ 2 เสียก่อนจึงจะสามารถพัฒนามาจับแบบที่ 3 ได้



ไม่มีความคิดเห็น: